คณะนักวิจัยของออสเตรเลีย เชื่อ วัคซีนแบบ แผ่นแปะ ตัวใหม่ ต้านโควิด-19 ดีกว่าแบบฉีด

31 ก.ค. 2022 BRIGHT TODAY

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย เชื่อ วัคซีนแบบ แผ่นแปะ ตัวใหม่ ต้านโควิด-19 ดีกว่าแบบฉีด

จากการเผยแพร่ผลงานของ คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (UQ) ของออสเตรเลียในวารสารวัคซีน (Vaccine) เมื่อวันพฤหัสบดี (28 ก.ค.) เผยถึงความ เชื่อมั่นว่าวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) แบบ “แผ่นแปะ” ตัวใหม่จะมีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ๆ มากกว่าวัคซีนเข็มฉีดแบบดั้งเดิม

Medical Research: albino rat for animal experiments

การศึกษาในหนูทดลอง พบว่าวัคซีนแบบแผ่นแปะชนิดที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มความคงสภาพของโปรตีนส่วนหนามของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือเฮกซะโปร (Hexapro) มีประสิทธิภาพต่อสู้กับเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน สูงถึง 11 เท่า เมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดเดียวกันที่ฉีดด้วยเข็ม

ดร.คริส แมคมิลแลน เจ้าหน้าที่วิจัยจากสถาบันเคมีและอณูชีววิทยาของมหาวิทยาลัยฯ เผยว่าแผ่นแปะวัคซีนที่ประกอบด้วยเข็มจิ๋วขนาดเล็กความหนาแน่นสูง (microarray patch) จะสามารถส่งวัคซีนเข้าสู่ชั้นผิวหนังที่อุดมไปด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันได้อย่างแม่นยำแผ่นแปะวัคซีนเฮกซะโปร ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยมหาวิทยาลัยฯ ร่วมกับแวกซ์แซส (Vaxxas) บริษัทสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองบริสเบน จะส่งวัคซีนทางผิวหนังเข้าสู่ร่างกายผ่านเข็มขนาดเล็กนับพันเข็ม

คณะนักวิจัยได้ทดลองให้วัคซีนเฮกซะโปรทั้งแบบเข็มฉีดหรือแผ่นแปะในหนูทดลอง 8 ตัว ก่อนจะนำเลือดของพวกมันไปทดสอบกับตัวอย่างโรคโควิด-19 หลายตัวอย่าง ซึ่งรวมถึงตัวอย่างสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์อัลฟา เดลตา และโอไมครอน

ผลวิจัยพบว่าวัคซีนแบบแผ่นแปะกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อไวรัสฯ ทั้งสายพันธุ์โอไมครอนและเดลตา สูงกว่าวัคซีนแบบเข็มฉีดดร. เดวิด มุลเลอร์ หนึ่งในนักวิจัย กล่าวว่าผลวิจัยครั้งนี้เป็นหลักฐานเบื้องต้นว่าวัคซีนแบบแผ่นแปะอาจช่วยต่อต้านการกลายพันธุ์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องยากที่วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันจะพิสูจน์ได้

มุลเลอร์กล่าวว่าประสิทธิภาพที่ลดลงของวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเห็นได้ชัดจากสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งสามารถกลายพันธุ์ได้มากกว่า 30 ตำแหน่งบนโปรตีนหนาม พร้อมเสริมว่าสิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าวัคซีนแบบเข็มที่มีอยู่ยังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19

This image courtesy of the University of Queensland and recived by AFP on October 29, 2021, shows a skin patch and its applicator tested to vaccinate against Covid-19. – A vaccine, but no needle. Since the start of the pandemic, plans to vaccinate against Covid-19 using patches have multiplied, testifying to a movement that could well revolutionize the way vaccines will be administered in the future. A study in mice, published on October 29, 2021 in the journal Science Advances, found promising results. The patch used: a square of 1cm by 1cm, made of plastic, with more than 5,000 tiny peaks on its surface, “so small that you can’t even see them”, described to AFP Dr David Muller, co -Study author and virologist at the University of Queensland, Australia. (Photo by Hung Vu / The University of Queensland / AFP) / RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT “AFP PHOTO / HUNG VU/ THE UNIVERSITY OF QUEENSLAND” – NO MARKETING – NO ADVERTISING CAMPAIGNS – DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS – RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT “AFP PHOTO / Hung Vu/ The University of Queensland” – NO MARKETING – NO ADVERTISING CAMPAIGNS – DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS /

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีแผ่นแปะวัคซีนจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และวัคซีนอื่นๆ ในอนาคต เนื่องจากสามารถขนส่งและใช้งานได้ง่าย รวมทั้งสามารถรักษาความคงตัวที่อุณหภูมิห้องได้นานถึง 30 วัน

ด้านเดวิด โฮอี้ ซีอีโอของแวกซ์แซส กล่าวว่าตอนนี้บริษัทฯ กำลังขยายขนาดการผลิตขณะวัคซีนเข้าสู่การทดลองทางคลินิกขนานใหญ่ ก่อนจะนำเข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ โดยบริษัทฯ จะก่อตั้งโรงงานผลิตแห่งแรกในบริสเบน เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่การค้าวัคซีนเชิงพาณิชย์

ขอบคุณ xinhuathai

Cr.BRIGHT TODAY