พัฒนาอุปกรณ์ช่วยจับสัญญาณจากโลหิต

24 มิ.ย. 2565 08:27 น. ไทยรัฐฉบับพิมพ์

ในแต่ละปีมีผู้ป่วยประมาณ 55,000 คนในออสเตรเลียประสบกับอาการหัวใจวาย และมีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองใกล้เคียงกัน หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือเกิดจากลิ่มเลือดที่ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ โดยมักอยู่ในบุคคลที่มีความเสี่ยงที่ไม่มีการเตือนทางกายภาพ

ทั้งนี้ ก่อนที่อาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองจะเกิดขึ้น จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในเลือด บ่อยครั้งที่การไหลเวียนของโลหิตถูกก่อกวน นำไปสู่การแข็งตัวของเลือดและการอักเสบซึ่งอาจทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ ล่าสุดทีมวิจัยนำโดยวิศวกรชีวการแพทย์จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์เผยว่า กำลังพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ขนาดเล็กเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของเกล็ดเลือดที่ละเอียดอ่อน ก่อนที่จะเกิดภาวะหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง การทดสอบทำด้วยเข็มหมุด โดยอุปกรณ์ชีวการแพทย์ขนาดเล็กจะเก็บตัวอย่างเลือดจากนิ้วของบุคคล จากนั้นจะวิเคราะห์ตัวอย่างเพื่อดูการแข็งตัวของเกล็ดเลือดและการตอบสนองต่อการอักเสบของเซลล์เม็ดเลือดขาว โดยข้อมูลจะถูกประมวลผลทันทีจากระบบปฏิบัติการภายนอก

ทีมวิจัยหวังว่าอุปกรณ์นี้จะให้ความกระจ่างถึงวิธีการที่ลิ่มเลือดก่อตัวขึ้น และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งหากประสบความสำเร็จ ในอนาคตก็อาจถูกนำมาใช้ในสถาน การณ์ด้านสุขภาพที่หลากหลาย.

(Credit : University of Sydney)

Cr. ไทยรัฐฉบับพิมพ์