June 16 , 2021. XINHUA

แคนเบอร์รา, 16 มิ.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียสร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญอันจะช่วยให้ผู้คนมองเห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงเวลากลางคืน
วันพุธ (16 มิ.ย.) คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) เผยแพร่ผลการศึกษาที่ระบุการพัฒนาฟิล์มแผ่นบาง ซึ่งสามารถนำไปใช้กับแว่นตาเพื่อเพิ่มการมองเห็นตอนกลางคืนของผู้ใช้งาน โดยฟิล์มดังกล่าวบางกว่าเส้นผมมนุษย์และทำจากคริสตัลระดับนาโน
โรซิโอ คามาโช โมราเลส นักวิจัยดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฯ ผู้เป็นหัวหน้านักวิจัยในโครงการข้างต้น กล่าวว่าเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญที่จะเปิดโอกาสมากมาย อาทิ สามารถขับรถได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้นในตอนกลางคืน ตัวอย่างเช่นกรณีสัตว์กระโดดออกมาจากที่ลับตา ฟิล์มนี้จะช่วยทำให้เรามองเห็นได้
โมราเลสระบุว่าแผ่นฟิล์มดังกล่าวใช้เวลาพัฒนานานกว่า 5 ปี ด้วยความช่วยเหลือจากคณะนักวิจัยในสหราชอาณาจักรและยุโรป จัดเป็นทางเลือกที่ง่ายดายกว่าอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นตอนกลางคืนที่มีน้ำหนักแบบเดิมๆ ซึ่งมักทำให้ผู้ใช้งานปวดเมื่อยคอ
“กล้องส่องกลางคืนทั่วไปหรือกล้องอินฟราเรดต้องใช้ระบบระบายความร้อนเพื่อให้ทำงานได้ จึงมักเกิดเสียงรบกวนมากมายเช่นกัน” โมราเลสกล่าว “เทคโนโลยีในปัจจุบันจะแปลงแสงอินฟราเรดเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงแสดงภาพ แต่ฟิล์มคริสตัลระดับนาโนจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็นทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องมีการแปลงใดๆ”
โมราเลสเสริมว่ายังจำเป็นต้องการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อค้นหาวิธีที่จะทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้ายิ่งขึ้น และอาจมีการผลิตปริมาณมากในอนาคตหากการวิจัยเพิ่มเติมเสร็จสิ้น
Cr. XINHUA